วัดโขลงสุวรรณภูมิ

  • วัดโขลงสุวรรณคีรี ตั้งเมื่อวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๘ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๘ หลวงพ่อธรรม สิริจนฺโท ได้ไปสร้างที่พักสงฆ์ มูลดินลักษณะคล้ายภูเขาขนาดย่อม (ปัจจุบันคือโบราณสถานสมัยทวาราวดี หมายเลข ๑๘) สภาพเดิมมีต้นไม้ขึ้นปกคลุม รกทึบ มีพระพุทธรูปหินแดง ๓ องค์ ประดิษฐานอยู่บนแท่นปูน มีเสาไม้แก่นเก่าๆ ไม่มีหลังคา ชาวบ้านเรียกสถานนี้ว่า “วัดโขลง” มาแต่เดิม พระพุทธรูป ๓ องค์ นี้สัณฐานตามพุทธลักษณะแล้วอยู่ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น จึงสันนิษฐานว่า “วัดโขลง” น่าจะเป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้นด้วยเช่นกัน แต่ตอนที่หลวงพ่อธรรมไปสร้างที่พักสงฆ์นั้น มีพระพุทธรูปเหลือเพียงองค์เดียว ชาวบ้านเรียกพระพุทธรูปองค์นี้ว่า “หลวงพ่อแดง” หลังจากหลวงพ่อธรรม สิริจนฺโท ได้สร้างที่พักสงฆ์ และจำพรรษาอยู่ที่วัดโขลงสุวรรณคีรีแล้วจึงได้มีพระสงฆ์มาจำพรรษาเพิ่มขึ้น จนกระทั่ง พ.ศ. ๒๕๐๔ กรมศิลปากร ได้ค้นพบโบราณสถานบ้านคูบัว จึงได้ดำเนินการขุดแต่ง และบูรณะโบราณสถานบ้านคูบัวทั้งหมด หลวงพ่อธรรม พร้อมด้วยชาวบ้านจึงได้เคลื่อนย้ายสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งตั้งอยู่บนมูลดินซาก โบราณสถานลงมาปลูกบนพื้นราบรอบๆ โบราณสถาน พร้อมได้เคลื่อนย้าย “หลวงพ่อแดง” ลงมาประดิษฐานไว้ในวิหาร วัดได้เจริญขึ้นตามลำดับมีสิ่งก่อสร้างเพิ่มขึ้น หลวงพ่อธรรม สิริจนฺโท ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสรูปแรก ต่อมาได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ พระครูเจ้าอาวาสวัดราษฎร์ชั้นโท ที่ “พระครูสิริธรรมาภิรักษ์” จนถึง พ.ศ. ๒๕๓๔ ท่านได้มรณภาพ ต่อจากนั้นเจ้าคณะจังหวัดราชบุรีได้แต่งตั้ง “พระครูสิทธิวชิราธร” เป็นเจ้าอาวาสวัดโขลงสุวรรณคีรี ตั้งแต่วันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ จนถึงปัจจุบัน
  • เนื่องจากวัดนี้เป็นวัดร้างมาก่อน โดยมาเริ่มฟื้นฟูเป็นที่พักสงฆ์เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๘ ซึ่งอายุของวัดนับได้เพียง ๕๙ ปีเท่านั้น กอปรกับสถานที่ตั้งวัดอยู่ห่างจากหมู่บ้าน ทำให้สิ่งก่อสร้างต่างๆ ภายในวัดไม่อยู่ในสภาพที่ถาวรและสวยงามเท่าที่ควร แต่ชาวบ้านต่างก็ภูมิใจที่ได้มีส่วนร่วมในการช่วยอนุรักษ์ ดูแลโบราณสถานสำคัญ คือ โบราณสถานสมัยทวาราวดี ทางวัดได้มอบที่ดินของวัดส่วนหนึ่งใช้เป็นสถานที่ก่อสร้างพิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน โดยประชาชนชาวคูบัวร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดราชบุรีร่วมกันก่อสร้าง

เจ้าอาวาส[แก้]

ข้อมูลเกี่ยวกับข้อมูลผู้บริหาร, สมภาร, เจ้าอาวาสที่ปกครองวัดสืบต่อกันมาเท่าที่ทราบนามของวัดโขลงสุวรรณคีรีจากอดีตจนถึงปัจจุบันมีดังนี้

  • ๑) พระครูสิริธรรมาภิรักษ์ พ.ศ. ๒๔๙๘-๒๕๓๔
  • ๒) พระครูสิทธิวชิราธร พ.ศ. ๒๕๓๔-๒๕๔๙
  • ๓) พระครูใบฎีกาสุพจน์ ธีรวํโส พ.ศ. ๒๕๕๐ ถึงปัจจุบัน

จำนวนพระภิกษุ[แก้]

  • จำนวนพระภิกษุในปีปัจจุบัน พ.ศ. ๒๕๕๗ มี พระสงฆ์ จำพรรษา จำนวน ๙ รูป

ศาสนาสถานในวัด[แก้]

  • ๑) อุโบสถ อุโบสถ กว้าง ๒๒.๐๙ เมตร ยาว ๒๗.๐๙ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๔ เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กทรงจตุรมุข
  • ๒) ศาลาเอนกประสงค์ ศาลาเอนกประสงค์ กว้าง ๑๐.๓๐ เมตร ยาว ๑๘.๓๐ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๐ เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก
  • ๓) หอสวดมนต์ หอสวดมนต์ กว้าง ๑๔.๖๐ เมตร ยาว ๑๘.๒๐ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๒ เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก
  • ๔) กุฏิสงฆ์ กุฏิสงฆ์ จำนวน ๖ หลัง เป็นอาคารไม้
  • ๕) วิหารพุทธสิริสุวัณณภูมิ
  • ๖) โบราณสถานหมายเลข ๑๘ (วัดโขลงสุวรรณคีรี) ตั้งอยู่กลางเมืองคูบัวและมีขนาดสูงใหญ่ที่สุดในโบราณสถานทั้งหมดของเมืองโบราณคูบัว สร้างด้วยอิฐขนาดใหญ่ เนื้ออิฐผสมด้วยแกลบข้าวเหนียวเมล็ดใหญ่ แล้วใช้ดินเหนียวเนื้อละเอียดผสมยางไม้หรือน้ำอ้อยเป็นดินสอหรือตัวประสาน นับเป็นอาคารพุทธศาสนสถานเนื่องในลัทธิมหายานที่สำคัญอีกแห่งหนึ่ง โดยจากเค้าโครงหลักฐานที่ปรากฏร่องรอยให้เห็น ทำให้สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นฐานของวิหาร เนื่องจากมีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีบันไดขึ้นไปสู่ลานประทักษิณชั้นบนทาง ด้านทิศตะวันออก เปรียบเทียบได้กับสถูปที่เมืองนาลันทา ประเทศอินเดีย ที่มีเครื่องบนเป็นเจดีย์ทรงกลมขนาดใหญ่ที่กึ่งกลาง โดยมีเจดีย์ทรงกลมขนาดเล็กเป็นบริวารที่มุมทั้งสีเข่นเดียวกัน ซึ่งมีลักษณะเป็นศิลปะทวารวดี ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๔ ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ เมื่อวันที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๐๒
  • ๗) หอระฆัง-หอกลอง
  • ๘) วิหารหลวงพ่อแดง
  • ๙) โรงครัว กำลังดำเนินการก่อสร้างอยู่ใกล้จะเสร็จสมบูรณ์
  • ๑๐) ศาลาเก็บรถ
  • ๑๑) ศาลาปฏิบัติธรรม
  • ๑๒) ศาลาบำเพ็ญกุศล
  • ๑๓) ฌาปนสถาน
  • ๑๔) กำแพงวัด
  • ๑๕) ศาลปู่โสมเมม
  • ๑๖) ศาลเจ้าแม่ทิพย์เกสร
  • ๑๗) แท๊งน้ำที่รอน้ำฝน
  • ๑๘) แท๊งน้ำบาดาล
  • ๑๙) ห้องน้ำ-ห้องสุขา
  • ๒๐) พิพิธภัณฑ์จิปาถะภัณฑ์สถานบ้านคูบัว

เอกลักษณ์พิเศษวัดโขลงสุวรรณคีรี[แก้]

เอกลักษณ์พิเศษของวัดโขลงสุวรรณคีรีนั้น มีดังต่อไปนี้

  • ๑) หลวงพ่อแดง เป็นพระพุทธรูปศักดิ์ประจำวัดที่เก่าแก่ ที่ประชาชนตำบลคูบัวสักการบูชา และให้ความเคารพนับถือมายาวนาน
  • ๒) อุโบสถจัตุรมุขประดิษฐานพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ของวัด เป็นอุโบสที่สวยงามมากที่เปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าเยี่ยมชมและสักการะพระประธานในอุโบสถได้ทุกวัน
  • ๓) พุทฺธสิริสุวณฺณภูมิ เป็นพระพุทธรูปองค์ใหญ่สีดำที่มีนักท่องเที่ยว ประชาชนทั่วไปเมื่อวิ่งรถผ่านก็จะมองเห็นได้ชัดเจนเป็นที่สะดุดตา และที่ฐานด้านล่างพระพุทธสิริสุวรรณภูมินี้ก็ยังมีสถานที่ทำบุญ และมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์วัตถุมงคลของวัด ที่ประชาชนและนักท่องเที่ยวสามารถเข้าไปเยี่ยมชมและสักการะได้ตามสะดวก
  • ๔) พระพุทธศรีสุวรรณภูมิ จำลองอยู่ด้านล่างของฐานพระพุทธสิริสุวรรณภูมิที่ให้ประชาชนทั่วไป และนักท่องเที่ยวที่เข้ามาในวัดได้สักการะบูบูชาและปิดทองบูชา
  • ๕) พิพิธภัณฑ์จิปาถะภัณฑ์สถานบ้านคูบัว จิปาถะภัณฑ์บ้านคูบัว ตั้งอยู่ในบริเวณวัดโขลงสุวรรณคีรี ตำบลคูบัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี จิปาถะภัณฑ์บ้านคูบัวเป็นพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นของ ชุมชนด้วยความริเริ่มของชุมชนหลายองค์กรในพื้นที่

ความเป็นมาของการจัดตั้งจิปาถะภัณฑ์บ้านคูบัว

แนวคิดตั้งแต่เริ่มแรก คือต้องการที่จะเชิดชูเกียรติคุณของบรรพชนไทย-ญวนที่อยู่ในจังหวัดราชบุรีให้เป็นที่รู้จักแก่ประชาชนทั่วไป บ้านคูบัว เป็นชื่อของตำบลคูบัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี เริ่มโครงการตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๒ โดยเริ่มการก่อสร้างและให้คนเข้าเยี่ยมชมโดยไม่เป็นทางการตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๘ โดยคณะ คสด. ย่อมาจาก คณะผู้สูงอายุรวมตัวก่อการดี พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เป็นการต่อยอดให้ลูกหลานยุวชนที่ได้สร้างสรรค์นวัตรกรรมทางวัฒนธรรมขึ้นมาใหม่ได้เข้าไปต่อยอดได้เลย สิ่งที่ทำมาคือเราทำในช่วงชีวิตของเราที่ได้ย้อนอดีตไปตั้งแต่ ๒๐๓ ปีที่คนในคณะ คสด. ก็คงจะต้องหยุดไว้ ณ พ.ศ. นี้แล้วต่อไปผู้ที่จะเกิดมาใหม่ก็สามารถต่อยอดศิลปวัฒนธรรมของตนเองที่ได้พัฒนาไปได้อีก ตัวอาคารยาว ๒๔ เมตร กว้าง ๑๘ เมตร มี ๒ ชั้น บริเวณรอบ ๆ มีต้นไม้ที่ปลูกไว้สำหรับให้ร่มเงากับตัวอาคารมีบริเวณโบราณสถานสมัยทาราวดีอยู่ใกล้เคียงติดกันเลยโบราณสถานสมัยทาราวดีซึ่งมีอายุประมาณ ๒,๔๐๐ ปี เป็นโบราณสถานองค์ใหญ่ซึ่งกรมศิลปากรได้ไปขุดตกแต่งและขึ้นทะเบียนไว้ในระหว่าง พ.ศ. ๒๕๐๔-๒๕๐๖ แล้วนอกจากโบราณสถานองค์ใหญ่นี้ยังมีรอบ ๆ อีกหลายแห่งที่เอาไว้ให้นักโบราณคดีหรือผู้สนใจเข้าไปเยี่ยมชมศึกษาความเป็นมาของอารยธรรมรุ่นก่อน ๆ ได้

อาคารจิปาถะภัณฑ์จัดชั้นล่างเป็นการเริ่มต้นเอาภูมิปัญญาของคนไทยสมัยทาวารวดีซึ่งได้แก่ ศิลปะปูนปั้น ดินเผาที่รูปเป็นรูปบุคคล รูปภาพ รูปนาค และพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าที่เป็นเศษเหลือจากที่กรมศิลปากรได้ทิ้งไว้ แล้วก็เหลือจากผู้ที่ขุดค้นลักลอบไปขายแล้วขายไม่ได้ก็เอามาเก็บไว้ที่วัดโขลงสุวรรณคีรี และได้ขออนุญาตสมภารวัดองค์ก่อน ๆ นั้นเอามาตั้งแสดงไว้เป็นหนึ่งห้อง คือ คล้าย ๆ ว่าเราเชิดชูภูมิปัญญาของบรรพชนสมัยทาราวดีไว้หนึ่งห้อง จากนั้นเป็นห้องที่แสดงภูมิปัญญาของคนไทยโยนกเชียงแสน หรือคนล้านนาที่ได้เคลื่อนย้ายมาจากเมืองเชียงแสนไปอยู่ที่คูบัวเมื่อประมาณ ๒๐๐ ปี มาแล้ว เช่น วัตถุที่แสดงถึงการทำมาหากินที่อยู่อาศัยหลับนอน แม้กระทั่งกิจกรรมพัฒนาชุมชนของคนรุ่นพ่อแม่ด้วย ใช้หุ่นขี้ผึ้งเป็นตัวสื่อในการแสดงให้เห็น

จากนั้นอีกห้องใช้หุ่นแสดงกิจกรรมการกินอยู่หลับนอนสอนลูกหลานการประชุมระดมสมองของบรรพชนของเราว่าร่วมคิดร่วมอ่านพัฒนาชุมชน แม้กระทั่งผู้นำมาซึ่งจิตวิญญาณได้แก่หุ่นของพระเกจิอาจารย์ที่เป็นสมภารวัดที่เป็นเชื้อสายไทย-ญวนเกือบทุกวัดถัดไปก็เป็นห้องที่เรานำเสนอเรื่องวัฒนธรรมเกี่ยวกับการเก็บเกี่ยว การนวดข้าว การตำข้าว แปรรูปข้าวเปลือกเป็นข้าวสารที่ชาวไทยใช้ภูมิปัญญาในการแปรรูปข้าวเปลือกมาเป็นข้าวสารเราทำอย่างไรบ้าง (ขอมูลเพิ่มเติม จิปาถะภัณฑ์สถานบ้านคูบัว [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://www.stou.ac.th/study/sumrit/5-54/page3-5-54.html, [๒๘ ตุลาคม ๒๕๕๗].)

จากนั้นก็ขึ้นชั้นสองนำเสนอภูมิปัญญาเกี่ยวกับเรื่องการทอผ้าของคนไทย-ญวนตั้งแต่โบราณ ญวนนี้คือโยนกไม่ใช่ญวนเวียดนามเป็นการทอผ้าตีนจกคนญวนโบราณด้วยการสื่อด้วยหุ่นที่กำลังทอผ้าอยู่หลายหุ่นเลย จากนั้นก็ไปนำเสนอด้วยการเก็บผ้าประมาณ ๑๗๐-๑๘๐ ปีมาแล้วเป็นผ้าซิ่นตีนจกโบราณเอาไว้ให้ลูกหลานได้เยี่ยมชมได้ดูเป็นห้องผ้าโบราณ อีกห้องหนึ่งที่เรานำเสนอไว้คือห้องชาติพันธุ์ของคนในจังหวัดราชบุรีมีด้วยกัน ๗-๘๙ เผ่าพันธุ์ แสดงถึงเครื่องแต่งกาย รูปร่างหน้าตาของคน และสถาปัตยกรรมที่อยู่อาศัยของคนแต่ละชาติพันธุ์เอาไว้ และมีโต๊ะโชว์สำหรับของจิปาถะ เช่น เงิน เหรียญกษาปณ์พันธบัตร สมัยโบราณมาถึงปัจจุบันมีเครื่องมือเครื่องใช้ไม้สอยเกี่ยวกับเครื่องไฟ คอมพิวเตอร์ ปากกา ฯลฯ ตั้งแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน เรียกว่า ปกิณกะ ได้ศึกษาและเรียนรู้จากวัสดุของจริง ๆ ที่ได้เห็น

สำหรับท่านผู้อ่านที่ต้องการไปทัศนศึกษาสามารถติดต่อได้ที่คุณอุดม สมพร เบอร์โทรศัพท์ ๐๘๑-๗๖๓๑๙๘๙ โทรสาร ๐๓๒ ๓๓๒๓๒๒ และทำหนังสือถึงผู้อำนวยการจิปาถะภัณฑ์สถานบ้านคูบัว ตำบลคูบัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี เปิดทุกวันตั้งแต่ ๐๙.๐๐-๑๖.๐๐ น. โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย แต่มีตู้บริจาคสำหรับผู้ที่ต้องการช่วยกันอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมของชาติเอาไว้

ห้องแสดงศิลปวัตถุโบราณสมัยทวราวดี ที่ยังหลงเหลืออยู่ตามหัวไร่ปลายนา ซึ่งเก็บรักษาไว้ภายในอาคารจิปาถะภัณฑ์สถานบ้านคูบัว

ห้องแสดงวิถีชีวิตของชุมชนไท-ยวน ที่ได้เคลื่อนย้ายจากเมืองเชียงแสนเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๔๗ มาตั้งถิ่นฐานอยู่เมืองราชบุรี อาทิเช่น เครื่องมืออุปกรณ์ประกอบอาชีพทำนา การดำรงชีวิต การร่วมคิดอ่านพัฒนาชุมชน การเกิด การกิน ฯลฯ

ห้องแสดงศิลปวัตถุโบราณสมัยทวราวดี ที่ยังหลงเหลืออยู่ตามหัวไร่ปลายนา ซึ่งเก็บรักษาไว้ภายในอาคารจิปาถะภัณฑ์สถานบ้านคูบัว

ห้องแสดงวิถีชีวิตของชุมชนไท-ยวน ที่ได้เคลื่อนย้ายจากเมืองเชียงแสนเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๔๗ มาตั้งถิ่นฐานอยู่เมืองราชบุรี อาทิเช่น เครื่องมืออุปกรณ์ประกอบอาชีพทำนา การดำรงชีวิต การร่วมคิดอ่านพัฒนาชุมชน การเกิด การกิน ฯลฯ

ห้องแสดงภูมิปัญญาการทอผ้าจกไท-ยวนเชียงแสน การจำลองชีวิตแบบดั้งเดิมของไท-ยวน จนถึงการพัฒนาวิธีการทอผ้าในปัจจุบัน

ห้องแสดงผ้าจกโบราณของชาวไท-ยวนดั่งเดิม อายุประมาณ ๒๐๐ ปีล่วงมาแล้วถึงปัจจุบัน และผ้าจกผลงานของลูกหลานไท-ยวนปัจจุบัน ที่สืบทอดมาจากบรรชนจนถึงปัจจุบัน

ห้องแสดงการแต่งกายของชาติพันธ์ต่าง ในจังหวัดราชบุรี อาทิ ชาวไทย-ยวน ลาวโซ่ง ลาวเวียง มอญ กะเหรี่ยง จีน ไทยทรงดำ ไทยพื้นถิ่น ฯลฯ นอกจากนี้ จิปาถะสถานบ้านคูบัว ยังมีมุมแสดงอื่นๆ ให้ชมอีกมากมาย…(ข้อมูลเพิ่มเติม ท่องเที่ยวภายในพิพิธภัณฑ์. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://www.jipathaphan.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=417978, [๒๘ ตุลาคม ๒๕๕๗].)

  • ๖) โบราณสถานหมายเลข ๑๘

ที่ตั้งอยู่บริเวณวัดโขลงสุวรรณคีรีนั้น ก่อนเป็นมูลเนินดินคล้ายกับภูเขาเป็นที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดาโบราณสถานในเมืองมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า สันนิษฐานว่าเป็นฐานของวิหาร ส่วนชั้นล่างก่อด้วยศิลาแลง โบราณสถานหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ทางด้านตะวันออกมีบันไดขึ้นส่วนประทักษิณออกมาจากฐาน ๒๐ เมตร โบราณสถานเมืองคูบัวประดิษฐานพระพุทธรูป ๓ องค์ ที่ชาวบ้านนิยมเรียกกันว่า “หลวงพ่อแดง” แต่ปัจจุบันนี้เหลือเพียงแค่องค์เดียวประดิษฐานอยู่ ณ วิหารภายในวัด ชาวบ้านมักจะเคารพบูชากันเป็นส่วนมากเพราะเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองประจำวัดโขลงสุวรรณคีรี โบราณวัตถุที่ขุดพบจากโบราณสถานแห่งนี้ ได้แก่ พระพุทธรูปเก่า เศียรพระพุทธรูป เทวดาปูนปั้น เชิงเทียนสัมฤิทธิ์ คนแคระปูนปั้น หินชนวนสีดำมีจารึกอยู่ด้านหลัง ด้านหน้าเป็นแม่พิมพ์พระพุทธรูปปางสมาธิ คนโฑแก้วหรือขวดน้ำหอม และเต้าปูนสัมฤิทธิ์ และอีกหลาย ๆ อย่าง สร้างเมื่อประมาณ ๘๐๐ ปี สมัยอู่ทองชั้นต้นสร้างด้วยคนจำนวน ๑,๐๐๐ คน แล้วเสร็จเมื่อวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๖ คือวันตรงกับวันเกิด วันตรัสรู้ วันปรินิพพาน ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่ไม่สามารถรู้ได้ว่าเป็นวันใด ปีใด มีเรื่องเล่ากันว่า ถ้าจะให้หมู่บ้านแห่งนี้ร่มเย็นเป็นสุขฝนตกตามฤดูกาล ให้คนในหมู่บ้านช่วยกันทำความสะอาดบริเวณรอบ ๆ โบราณสถาน แล้วพากันขึ้นนมัสการสักการบูชามีงานวิสาขสมโภชน์ เวียนเทียน ต่อไปภายภาคหน้า ๕๐๐ ปี จะเป็นที่เจริญมาก จะเป็นวัดใหญ่ หมู่บ้านนี้จะเป็นเมืองใหญ่ อุดมสมบูรณ์ด้วยทุกอย่าง ในสมัยก่อนเคยมีชื่อเรียกว่า “สุวรรณภูมิ” ตั้งแต่อดีตเป็นเมืองสุวรรณภูมิเก่า ทรัพย์แผ่นดินยังมีที่วัดโขลงสุวรรณคีรีนี้ เป็นทองคำบ้าง เป็นเครื่องตกแต่งองค์ของราชเทวีองค์แรกของแคว้นสุวรรณภูมิ ได้ตั้งปณิธานไว้ว่าผู้ที่มาช่วยทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา และซ่อมแซมก่อสร้างวัดนี้ จะมีแต่ความสุขความเจริญรุ่งเรืองและร่มเย็นเป็นสุขตลอดไป โบราณสถานหมายเลข ๑๘ นี้มีขนาดที่ใหญ่ที่สุดในเมืองคูบัว มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า สันนิษฐานว่าเป็นฐานของวิหาร ด้านบนฐานวิหาชั้นล่างสุดก่อด้วยศิลาแลงฉาบปูน ผนังด้านเหนือและใต้ของวิหารมีมุขขนาดเล็กยื่นออกมาด้านละ ๓ มุข ผนังทางด้านตะวันตกซึ่งเป็นด้านหลังวิหารมีมุขเล็ก ยื่นออกมาตรงกลาง ฐานชั้น ๒ ก่อด้วยอิฐเป็นฐานบัวโค้ง ถัดขึ้นไปเป็นช่องซุ้มรูปสี่เหลี่ยมประดับปูนปั้น ชั้นต่อไปเป็นฐานหน้ากระดานรองรับซุ้มสี่เหลี่ยมผืนผ้าเพื่อขึ้นไปเป็นเสาประดับผนังรูปสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ระหว่างเสาเป็นซุ้ม ส่วยบนของฐานเป็นลานประทักษิณขนาดใหญ่ มีฐานก่ออิฐยกพื้นสี่เหลี่ยมผืนผ้าด้านทิศตะวันตกทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของวิหารห่างออกไปประมาณ ๙ เมตร มีฐานอาคารขนาดเล็กแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสลักษณะของฐานจะเป็นอิฐก่อเรียงซ้อนกัน ๓ ชั้น ถัดขึ้นไปเป็นซุ้มรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสโดยรอบด้านละ ๑๖ ซุ้ม มีร่องรอยการฉาบปูนสันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยหลัง ลักษณะเด่นของโบราณสถานนี้ก็คือเป็นโบราณสถานที่มีลักษณะใหญ่กว่าที่อื่น ๆ และอีกอย่างหนึ่งก็คือเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สามารถขึ้นชมได้ง่ายเหมาะสำหรับพานักท่องเที่ยวมาเที่ยวชมและพานักเรียนและนักศึกษามาศึกษาประวัติของโบราณสถานหมายเลข ๑๘ แห่งนี้ (ประวัติโบราณสถานหมายเลข ๑๘. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://www.siamlocalnews.com/watkhlong/view.php?gid=4749&newsid=8447&issueid=2423. [๒๘ ตุลาคม ๒๕๕๗].)

  • ๗) พระพุทธสิริสัตตราช เป็นพระพุทธรูปศิลาที่เป็นปางนาคปรกตั้งอยู่ด้านหน้าพิพิธภัณฑ์จิปาถะคูบัว
  • ๘) สะดือคูบัว เป็นหินแกรนิตจารึก ตั้งอยู่ที่วัดโขลงสุวรรณคีรี ตรงข้ามกับจิปาถะภัณฑ์สถานบ้านคูบัว จังหวัดราชบุรี โดยนำมาจากเหมืองหิน อำเภอบ้านตาก เมื่อวันที่ ๕ กันยายน ๒๕๔๙ ด้านที่ ๑ มีอักษรธรรมล้านนา (อักษรไท-ยวน) กล่าวถึงผู้เขียนคำจารึก อักษรที่ใช้ในพุทธศักราช ๒๕๔๙ กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการจารึก และอาณาเขตพื้นที่การปกครองของตำบลคูบัว ด้านที่ ๒ กล่าวถึงประชาชนคูบัวมีภูมิปัญญาผลิตสินค้าชุมชน (OTOP) หลากหลายชนิด ร่วมกันจัดตั้งมูลนิธิ สมาคม ชมรม พิพิธภัณฑ์จิปาถะฯ ความเป็นมาดั้งเดิมของพื้นที่โบราณสถานภายในเมืองโบราณคูบัว ด้านที่ ๓ กล่าวถึงความเป็นมาโครตเหง้าไท-ยวน (เจ๊าเฮา) ที่เคลื่อนย้ายจากเมืองเชียงเสียน อาณาจักรล้านนาโบราณมาอยู่ที่คูบัว จังหวัดราชบุรี และด้านที่ ๔ กล่าวถึงแผนที่อาณาเขตของตำบลคูบัว แผนที่จังหวัดราชบุรี และแผนที่ประเทศไทย ณ พุทธศักราช ๒๕๕๐ ตลอดจนรายชื่อผู้สนับสนุนบริจาคเงินซื้อหินจารึกก้อนนี้ (ข้อมูลเพิ่มเติม สะดือคูบัว [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://hererb.blogspot.com/2009/11/blog-post_30.html, [๒๘ ตุลาคม ๒๕๕๗].

กิจกรรมในวัด[แก้]

  • เวียนเทียนวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เช่น วันวิสาขบูชา มาฆบูชา และวันอาสาฬหบูชา เป็นต้น
  • วันสำคัญทางราชการ เช่น ๑๒ สิงหา และ ๕ ธันวา
  • ทำบุญตักบาตร ประจำวันพระ ๘, ๑๔ และ๑๕ ค่ำ ตลอดปี
  • งานประเพณีสงกรานต์ ไทย-ยวน วัดโขงสุวรรณคีรี (THE OLD ราชบุรีแฟร์) ๑๓-๑๕ เมษายน ทุกปี

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดราชบุรี อามาจิ
  • สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดราชบุรี
  • สำนักงานเจ้าคณะจังหวัดราชบุรี
  • สำนักงานเจ้าคณะอำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี
  • ตำบล คูบัว อำเภอเมืองราชบุรี ราชบุรี 70000

Write a Review

Click to rate

การสมัครสมาชิกหมายถึงคุณยอมรับต่อ ข้อกำหนดและเงื่อนไขการใช้งาน and our นโยบายความเป็นส่วนตัว ของเว็บไซด์ของเราแล้ว