วัดมหาธาตุ พระนครศรีอยุธยา

วัดมหาธาตุ หมายถึงวัดอันเป็นที่สถิตของพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า สร้างขึ้นในสมัยขุนหลวงพะงั่ว เมื่อปี พ.ศ. 1917แต่เข้าใจว่าการก่อสร้างเสร็จสิ้นในรัชสมัยพระราเมศวรจารีตของการสร้างพระเจดีย์ขนาดใหญ่ เอาไว้ในเมือง ซึ่งถือสมมุติว่าพระเจดีย์นั้นเป็นที่สถิตของพระบรมสารีริกธาตุ และวัดนั้นถือว่าเป็นวัดศักดิ์สิทธิ์ ทั้งมักจะมีชื่อว่า วัดมหาธาตุ หรือวัดพระศรีมหาธาตุ หรือวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ปรากฏโดยทั่วไปในทุกภูมิภาค จารีตดังกล่าวนี้จะ เริ่มในสมัยใดนั้นไม่ทราบได้ แต่หากจะพิจารณาเฉพาะอาณาจักรอยุธยาจะเห็นได้ว่าธรรมเนียม ดังกล่าวเริ่มตั้งแต่สมัยแรกๆ ทีเดียววัดมหาธาตุจึงเป็นวัดที่สำคัญที่สุดวัดหนึ่งของอาณาจักร ในฐานะที่เป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้า อีกทั้งหากจะพิจารณาดูสถานที่ตั้งก็จะเห็นว่าอยู่ใกล้ชิดกับพระบรมมหาราชวังเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้น วัดนี้จึงเป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราช (ฝ่ายคามวาสี)มาตลอดจนสิ้นกรุงศรีอยุธยา(ส่วนพระสังฆราชฝ่าย อรัญวาสีนั้น ประทับอยู่ที่วัดใหญ่ชัยมงคล หรือ สำนักวัดป่าแก้ว)
ส่วนที่สองคืออาคารพิพิธภัณฑ์ซึ่งเป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าหลังใหญ่ 2 ชั้น สูงโปร่งทาสีขาวทั้งหลัง มีประตู หน้าต่าง แบบบ้านสมัยเก่าทาสีฟ้าดูสดใส ภายในแบ่งเป็นสองชั้น เมื่อก้าวเข้าไปสู่ตัวพิพิธภัณฑ์ด้านใน ก็จะพบ กับสิ่งของจัดแสดงไว้มากมาย อาจารย์เกริกได้ใช้เวลาร่วม 20 กว่าปีในการสะสม
สิ่งที่น่าสนใจในวัดมหาธาตุ อยุธยา
1. พระปรางค์ขนาดใหญ่ ซึ่งในปัจจุบันพังทลายลงมาหมดแล้ว แต่ราชทูตลังกาที่ได้เคยมาเยี่ยมชมวัดมหาธาตุ ใน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศไว้ว่า ที่ฐานของพระปรางค์ มีรูปราชสีห์ หมี หงส์ นกยูง กินนรี โค สุนัขป่า กระบือ มังกร เรียงรายอยู่โดยรอบ รูปเหล่านี้อาจหมายถึงสัตว์ในป่าหิมพานต์ที่รายล้อมอยู่เชิงเขาพระสุเมรุ ซึ่งเป็นแกน กลางของจักรวาล
2.เจดีย์แปดเหลี่ยม เป็นเจดีย์ลดหลั่นกัน 4 ชั้น 8 เหลี่ยม ชั้นบนสุดประดิษฐานปรางค์ขนาดเล็ก ซึ่งเจดีย์องค์นี้ จัดว่าเป็นเจดีย์ที่แปลกตา พบเพียงองค์เดียวในอยุธยา
3.วิหารที่ฐานชุกชี ของพระประธานในวิหาร กรมศิลปากรพบว่ามีผู้ลักลอบขุดลงไปลึกถึง 2 เมตร จึงดำเนิน การขุดต่อไปอีก 2 เมตร พบภาชนะดินเผาขนาดเล็ก 5 ใบ บรรจุแผ่นทองเบาๆรูปต่างๆ
4.วิหารเล็ก วิหารเล็กแห่งนี้ มีรากไม้แผ่รากขึ้นเกาะเต็มผนัง รากไม้ส่วนหนึ่งได้ล้อมเศียรพระพุทธรูปไว้ ธรรมดา กรมศิลปากรจะต้องตัดต้นไม้ออก แต่ที่นี่ดูจะว่าเป็นที่ยกเว้น
5.พระปรางค์ขนาด กลางภายในพระปรางค์ มีภาพจิตรกรรม เรือนแก้วซึ่งเป็นตอนหนึ่งในพุทธประวัติ

Write a Review

Click to rate

การสมัครสมาชิกหมายถึงคุณยอมรับต่อ ข้อกำหนดและเงื่อนไขการใช้งาน and our นโยบายความเป็นส่วนตัว ของเว็บไซด์ของเราแล้ว