วัดพระธาตุดอยสะเก็ด วัดพระธาตุดอยสะเก็ด ต าบลเชิงดอย อ าเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ เป็น
วัดที่เก่าแก่สร้างมาช้านาน ตั้งแต่พ.ศ.2155 และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์
2461 เมื่อพ.ศ.2543 ได้รับยกย่องฐานะให้เป็นวัดพัฒนาตัวอย่างที่มีผลงานดีเด่นของกรมศาสนา
กระทรวงศึกษาธิการ ประวัติหรือต านานตามที่บันทึกไว้ในประวัติ-ต านานวัดดังนี้
ในสมัยพุทธกาลเมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราทั้งหลายได้ตรัสรู้ธรรมอันวิเศษแล้ว ได้น าเอาธรรมะ
ออกเผยแผ่แก่ชาวชนบทน้อยใหญ่ ในชมพูทวีปจนได้มีผู้รู้แจ้งเห็นจริงในสัจธรรม เป็นจ านวนมาก
ในกลายนั้นแล พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงปาฏิหาริย์มาปรากฏกายทิพย์ ณ บนดอยแห่งนี้แล้วทรง
เปล่งพระฉัพพรรณรังสีสว่างเจิดจ้าไปทั่ว ขณะนั้นได้มีพญานาคคู่หนึ่งอาศัยอยู่ในหนองบัว (ห่างจาก
วัดพระธาตุดอยสะเก็ดประมาณ 1 กิโลเมตร ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ) ได้เห็นฉัพพรรณรังสีจึง
แปลกใจพากันเลื้อยขึ้นสู่บนดอยแล้วได้ทัศนาเห็นพระพุทธองค์ บังเกิดความเลื่อมใส จึงแปลงกายเป็น
ชายหนึ่งหญิงสาวมาเข้าเฝ้าพร้อมกับได้น าดอกบัวมาถวาย พระพุทธองค์ทรงรับเอาดอกบัวแล้วจึงทรง
แสดงธรรมโปรด และประทานพระเกศาธาตุแก่พญานาคแปลงคู่นั้น พญานาคจึงได้อธิฐานสร้างเจดีย์
หิน แล้วน าเอาพระเกศาธาตุบรรจุประดิษฐานไว้บนดอยแห่งนี้ ต่อมาได้มีนายพรานผู้แสวงหาของป่า
ได้มาพบเห็นเจดีย์มีลักษณะสวยงาม จึงเกิดอัศจรรย์ แล้วได้น าเอาก้อนหินมาก่อเป็นรูปเจดีย์ขึ้น
กลางคืนได้นิมิต (ฝัน) ว่าเจดีย์ที่ตนพบนั้นเป็นที่บรรจุพระเกศาธาตุของพระพุทธเจ้า จึงได้บอกกล่าว
ชักชวนประชาชนในแถบนั้น ขึ้นไปสักการบูชา และเรียกชื่อภูเขาแห่งนี้ว่า “ดอยเส้นเกศ” บ้าง “ดอย
สะเก็ด” บ้าง ที่เรียกว่าดอยเส้นเกศนั้น เพราะเรียกตามพระเกศาธาตุ ที่เรียกว่าดอยสะเก็ด เพราะเรียก
2
เพี้ยนส าเนียงตามที่พญานาคลอกคราบ (ชาวเหนือเรียกสะเก็ด หรือสละเกล็ด) คือ ถอดหรือลอกคราบ
นั้นเอง
ดอยแห่งนี้ ได้มีพุทธศาสนิกชนขึ้นมานมัสการเจดีย์หิน อันเป็นที่บรรจุพระเกศาธาตุมากขึ้น จึงได้ก่อ
เจดีย์ปูนเสริมให้ใหญ่ และมั่นคงกว่าเดิม ต่อมาได้มีพระภิกษุรูปหนึ่งชื่อว่า “ครูบาเก๋” จากอ าเภอเมือง
จังหวัดน่าน มาสร้างวิหารและบูรณะเจดีย์พร้อมทั้งสถาปนาขึ้นเป็นวัด เรียกว่า “วัดพระธาตุดอย
สะเก็ด” ต่อมา ได้มีชาวบ้านเข้ามาอยู่อาศัยในเชิงดอย และใกล้เคียงเป็นจ านวนมากขึ้น ทางราชการจึง
ได้จัดตั้งเป็นอ าเภอ โดยใช้ชื่อว่า “อ าเภอดอยสะเก็ด” ตามภาษาเรียกของชาวบ้านเป็นต้นมา
ในจุลศักราช 1197 พ่อน้อยอินทจักร ได้มาบูรณะวิหารหลังเก่าอีก เมื่อจุลศักราช 1274 ครูบาชัย วัด
ลวงเหนือ (วัดศรีมุงเมืองปัจจุบัน) ได้มาซ่อมแซมวิหารให้ดีกว่าเดิม และเสริมองค์เจดีย์ให้ใหญ่ขึ้น
กว่าเดิม และในจุลศักราช 1257 ตรงกับ พ.ศ.2448 พระอภิวงค์ หรือ ครูบากาวิชัย พร้อมด้วยพ่อ
หนานอินทวงศ์ (พ่อขุนผดุง ดอยแดน)ได้มาตั้งบ้านเรือนอยู่ในหมู่บ้านเชิงดอย (ตลาดอ าเภอ) เป็น
ครอบครัวแรกได้ร่วมกันอุปถัมภ์วัดพระธาตุดอยสะเก็ด ตลอดมา
ในสมัยพระครูมงคลคุณาทร(ครูบาหมื่น) เป็นเจ้าอาวาสได้บูรณปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุของวัดนี้ให้เจริญ
ตามล าดับ และได้มีพระครูรัตนปัญญาญาณ (มหาอินสม ป.ธ.4) พระครูพินิจสุภาจารย์, พระใบฎีกา
พรหมบาล, พระธวัชชัย ได้มาเป็นเจ้าอาวาสตามล าดับ และมีการพัฒนาวัดให้เจริญเรื่อยมา ช่วงนั้น
ศรัทธาวัดเพิ่มมากขึ้น มีการอ้างถึงศรัทธาวัดจากพ่อขุนผดุงดอยแดน แม่ค าเกี้ยว เจริญทรัพย์ คุณพระ
นิกร ประชาเขตร แม่นางปองเมฆ รามบุตร พ่อน้อยสิงห์แก้ว แม่นางบัวชุม เจริญทรัพย์ พ่อค าอ้าย แม่
จันทร์เป็ง ชัยมงคล พ่อน้อยยุทธ แม่แก้ว พวงสายใจ พ่ออุ้ยเอี๋ยง แม่อุ้ยบุญ สายน้ าตาล พ่อก านันจู แม่
จันทร์ฟอง เจริญทรัพย์ พ่อปลัดแก้ว แม่จันทร์พลอย พรหมขัติแก้ว ลูกหลานญาติมิตร ศรัทธาวัดพระ
ธาตุดอยสะเก็ดทุกคน ได้อุปถัมภ์บ ารุงช่วยจรรโลงรักษาวัดให้มีความเจริญมั่นคงตลอดมา
เมื่อพ.ศ.2519 ทางคณะสงฆ์จังหวัดเชียงใหม่ ได้ส่งพระครูมงคลศีลวงค์ เจ้าอาวาสวัดบุพพาราม อ าเภอ
เมืองจังหวัดเชียงใหม่ (ปัจจุบัน : ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ที่ พระเทพวิ
สุทธิคุณ เจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่) มาด ารงต าแหน่งเจ้าคคณะอ าเภอดอยสะเก็ด และเป็นผู้รักษาการ
แทนเจ้าอาวาสวัดพระธาตุดอยสะเก็ดได้ยกฐานะของวัดพระธาตุดอยสะเก็ดให้เป็นวัดพัฒนาประจ า
อ าเภอดอยสะเก็ด
ต่อมา เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2524 ได้ส่งพระมหาพายัพ ขิตปุญฺโญ นธ.เอก, ปธ.4 (ปัจจุบันได้รับ
พระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ที่พระโพธิรังสี (สป.)) มาด ารงต าแหน่งเจ้า
อาวาส และได้ฟื้นฟูเป็นส านักศาสนศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี และนักธรรม-ธรรมศึกษา
โรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ ค่ายอบรมคุณธรรม โรงเรียนพระปริยัติ
ธรรมแผนกสามัญศึกษา (โรงเรียนดอยสะเก็ดผดุงศาสน์) ได้ท าการพัฒนาด้านต่าง ๆ ทั้งทางด้านศาส
วัตถุ ศาสนบุคคล ศาสนธรรม ให้เจริญรุ่งเรือง จนได้รับยกย่องให้เป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง ของกรมการ
3
ศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ ในปีพ.ศ.2521 และเป็นวัดพัฒนาตัวอย่างที่มีผลงานดีเด่นของส านักงาน
พระพุทธศาสนาแห่งชาติในปีพ.ศ.2543 เป็นวัดอุทยานการศึกษา ของส านักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน
เชียงใหม่ เขต 1 และวัดต้นแบบส่งเสริมสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.2546 และในปี พ.ศ.2547
เป็นแหล่งเรียนรู้ในชุมชน ของส านักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน เชียงใหม่ เขต 1 จนกระทั่งถึงปัจจุบันนี้
ในปีพ.ศ.2538 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถได้โปรดให้ส านักงานราชเลขาพระราชวัง
ในพระองค์ ได้น าเครื่องอุปโภค-บริโภค ข้าวสารอาหารแห้งและเครื่องอัฐบริขาร สิ่งของพระราชทาน
ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ มาถวายแด่พระภิกษุ-สามเณร ที่อาศัยเล่าเรียนพระ
ปริยัติธรรม ณ วัดพระธาตุดอยสะเก็ด และได้พระบรมราชานุญาตให้วัดพระธาตุดอยสะเก็ด อัญเชิญ
ตราสัญลักษณ์ งานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในมหามงคลเฉลิม
พระชนมพรรษา 5 รอบ มาประดิษฐานบนผ้าทิพย์ พระพุทธมหาปฏิมากรประทานพร เฉลิมพระเกียรติ
และในปี พ.ศ.2549 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามกุฏราชกุมาร ได้ทรงพระราชทานน้ าสรง และ
ผ้าไตรพระราชทาน เพื่อสรงพระบรมธาตุ พระเกศาธาตุวัดพระธาตุดอยสะเก็ด อ าเภอดอยสะเก็ด
จังหวัดเชียงใหม่
ปูชนียวัตถุของโบราณเก่าแก่ล้ าค่าของวัดพระธาตุดอยสะเก็ดมีมาก อาทิเช่น เจดีย์ซึ่งเป็นที่บรรจุพระ
เกศาธาตุ อายุร่วม 1,000 ปี มีพระบรมสารีริกธาตุอันเป็นปูชนียวัตถุอันศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่สักการะ
เคารพของชาวอ าเภอดอยสะเก็ด ทุกปีในเดือน 8 เป็ง (ขึ้น 15 ค่ า เดือน 6 ใต้) ทางวัดจะอันเชิญ
พระบรมสารีริกธาตุ ลงมาจากที่ประดิษฐานให้พุทธศาสนิกชนสรงน้ า และจะมีปรากฏสิ่งอันเป็น
ปาฏิหาริย์ทุกครั้ง นอกจากนั้น ยังมีพระพุทธรูปบูชาทองค า พระพุทธรูปทองส าริด อีกจ านวนมาก
เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้สักการบูชาสืบไป
ที่อยู่: 5 118 ตำบล เชิงดอย อำเภอดอยสะเก็ด เชียงใหม่ 50220