วัดพระธาตุดอยพระเจ้า (ดอยกะโหลก)

วัดพระธาตุดอยพระเจ้า (ดอยกะโหลก)

ม.๑๑  ต.บ้านหลวง  อ.จอมทอง  จ.เชียงใหม่

[พระบรมธาตุเจดีย์]

ประวัติวัดพระธาตุดอยพระเจ้า (ดอยกะโหลก)

วัดพระธาตุดอยพระเจ้า (ดอยกะโหลก) สร้างขึ้นเมื่อหนึ่งพันกว่าปีมาแล้ว สมัยนั้นเจ้าเมืองละโว้เมืองละเวง (ปัจจุบันคือเมืองลพบุรี) ได้ย้ายมาตั้งบ้านเมืองที่เวียงฮ้อ (ปัจจุบันเรียกว่า บ้านกู่ฮ้อ) พระยาอ่างกะระต๊ะเป็นผู้สร้างกับพระยารารี พระยารารีมีลูก ๑๒ คน พี่คนโตชื่อว่า ชิตชัย คนที่ ๒ ชื่อ ชัยชิต คนสุดท้องชื่อว่า ชัยยงศักดิ์ เป็นผู้ชายทั้ง ๓ คน ส่วนพระยาอ่างกะระต๊ะนั้นมีลูก ๑ คน ชื่อว่า นางคำก๋อง ได้ร่วมกันสร้างวัด พระธาตุเจดีย์ และ พระพุทธรูปหน้าตักกว้าง ๒๗ ศอก มีบันไดนาคทางขึ้น/ลง อยู่ด้านทิศตะวันออกของบ้านกู่ฮ้องในปัจจุบันนี้

ส่วนบ้านเมืองกลางนั้น ชื่อเดิมว่าบ้านเวียงกลาง เป็นเมืองของพระยารารี หมายความว่า คนมาจากที่อื่นไม่ให้แวะให้ผ่านไปเพราะในสมัยนั้นคนไม่ดีมีมาก บ้านอื่นมาจึงไม่ให้แวะพัก เพราะจะได้รับความเดือดร้อนและมีดอยที่ล่องลงมาทางทิศตะวันออกนั้นเรียกว่า ดอยกะโหก ความหมายสมัยนั้นคือพระยาอ่างกะระต๊ะไปหาเนื้อในป่าไปพบใส่กวางตัวเป็นทองคำจึงพยายามให้คนตามจับเอาเป็นไม่ให้ฆ่าตาย หากว่าออกจากเล้ามาของผู้ใดลดหายจักมีโทษ พอดีกวางตัวนั้นออกมาทางพระยาอ่าง พระยาอ่างก็ตามไป

พอถึงถ้ำกวางก็เข้าไปในถ้ำ พระยาอ่างก็ตามเข้าถ้ำ กวางตัวนั้นก็กลายเป็นยักษ์ พระยาอ่างก็ขอชีวิตไว้ว่าหากจะกินข้าก็จะได้กินแค่ข้าผู้เดียว จึงบอกกับยักษ์ว่า หากปล่อยข้าไปก็จะให้ลูกน้องสร้างศาลาและจะเอาคนมาให้กิน ๗ วัน ๑ คน พระยาอ่างจึงเอานักโทษให้กิน ๗ วัน ๑ คน ทำศาลามีกลอนข้างนอก เอาคนใส่แล้วถ้าไม่ครบ ๗ วัน ยักษ์ที่ดอยอินทนนท์ก็จะเอาคนไปไม่ได้ พอถึงเวลายักษ์ก็ลงมาไขประตูเอานักโทษไปกิน เวลาผ่านไปเนิ่นนาน นักโทษก็หมด ต่อมาจึงเอาชาวบ้านไปให้ยักษ์กิน จึงทำให้ชาวบ้านหนีไปอยู่ที่อื่น พระยาอ่างจึงเอาลูกสาวที่ชื่อว่าก๋องคำนั้นเอาไปไว้ในก๋อง ยักษ์ก็เลยกินไม่ได้ ต่อมาจึงชื่อว่าดอยกงโล๊กจนทุกปัจจุบันนี้

ต่อมามีการก่อสร้างบูรณปฏิสังขรณ์วัดขึ้นมาใหม่เมื่อพ.ศ.๒๕๒๖ เดือนกุมภาพันธ์ โดยมีพระสาม ฐานวโรเป็นผู้เริ่มสร้างขึ้น โดยหาเงินที่ใช้การสร้างก็มาจากความศรัทธาของคนในหมู่บ้านและพุทธศาสนิกชนที่ไปทำบุญที่วัดก็ช่วยกันบริจาค

พิธีสรงน้ำพระบรมธาตุ วัดพระธาตุดอยพระเจ้า (ดอยกะโหลก) ชาวบ้านจะสรงน้ำพระบรมธาตุตามปกติระหว่างเวลาพระบรมธาตุเข้าพรรษา คือวันเดือน ๗ เพ็ญ (เดือน ๙ เหนือ) ไปจนถึงเดือน ๓ เพ็ญ (เดือน ๕ เหนือ) เป็นเวลาประมาณ ๙ เดือน จะไม่มีการสรงน้ำพระบรมธาตุและจะไม่มีการอัญเชิญเสด็จไปในที่ใดๆ เมื่อพระบรมธาตุออกพรรษาแล้ว คือ ตั้งแต่ ๓ เดือนเพ็ญไปจนถึงเดือน ๗ เพ็ญ ซึ่งเป็นฤดูร้อน จะมีการสรงน้ำพระบรมธาตุทุกวันพระเดือนดับและเดือนเพ็ญ และในโอกาสที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา น้ำที่ใช้สรงพระบรมธาตุเป็นน้ำที่สะอาดเจือด้วยของหอมตามแต่ศรัทธา

Write a Review

Click to rate

การสมัครสมาชิกหมายถึงคุณยอมรับต่อ ข้อกำหนดและเงื่อนไขการใช้งาน and our นโยบายความเป็นส่วนตัว ของเว็บไซด์ของเราแล้ว