พระธาตุจอมจันทร์ ตั้งอยู่ในวัดจอมจันทร์ ตำบลสันทราย อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นหนึ่งในพระธาตุ 9 จอม และเป็นปูชนียสถานสำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดเชียงราย
ผู้สร้างพระธาตุจอมจันทร์ คือ พระครูบาทิพย์ เจ้าอาวาสวัดบ้านแหลว สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2458 พระครูบาทิพย์ ชักชวนสาธุชนร่วมกันก่อสร้างพระเจดีย์ ต่อมาใน พ.ศ. 2468 ได้ก่อสร้างวิหาร กุฎิ และศาลา ตั้งชื่อว่า “วัดพระธาตุจอมจันทร์” มีภิกษุจำพรรษาติดต่อกันมา จนถึง พ.ศ. 2480 ได้เกิดไฟป่าลุกลามไหม้ศาลาและกุฎิจนหมด เหลือแต่พระเจดีย์และวิหาร ด้วยศรัทธาชาวบ้านจึงย้ายมาสร้างวัดอยู่ข้างล่าง ห่างวัดเดิม 300 เมตร วัดพระธาตุจอมจันทร์จึงได้กลายเป็นวัดร้างแต่นั้นมา จนถึง พ.ศ. 2542 จึงได้มีการบูรณะขึ้นมาใหม่
ที่ตั้ง วัดจอมจันทร์ ตำบลสันทราย อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย โทร. o- ๕๓๗๗-๒๑๒๙ มีพระมหายงยุทธเป็นเจ้าอาวาส
ประวัติพระธาตุ พระครูบาทิพย์ เจ้าอาวาสวัดบ้านแหลว เป็นผู้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๓ โดยเห็นนิมิตในคืนหนึ่ง เป็นแสงพุ่งขึ้นสู่ท้องฟ้าสว่างไสวระยิบระยับสีเขียวบนดอยที่ตั้งขององค์พระธาตุ สักครู่ก็หายไป เช้าวันรุ่งขึ้นพระครูบาทิพย์จึงชวนสามเณรขึ้นไปสำรวจตรวจตราดูบนยอดดอยแห่งนี้ เห็นว่าเป็นสถานที่ที่เหมาะสมแก่การสร้างพระธาตุเจดีย์เป็นอย่างยิ่ง เพราะว่าดอยแห่งนี้มีคูล้อมรอบ โดยการขุดของคนโบราณ ซึ่งไม่ติดกับดอยลูกใดเลยในบริเวณใกล้เคียงกัน จึงชักชวนญาติโยมสาธุชนทั้งหลายร่วมกันก่อสร้างเจดีย์ ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๖๘ จึงได้ก่อสร้างกุฏิ วิหาร และศาลาตามลำดับ ตั้งเป็นวัดชื่อว่า วัดพระธาตุจอมจันทร์ มีภิกษุจำพรรษาติดต่อกันมาจนถึง พ.ศ. ๒๔๘o ได้เกิดไฟป่าลุกลามไหม้ศาลาและกุฏิจนหมด คงเหลือไว้แต่พระเจดีย์และวิหาร ศรัทธาชาวบ้านจึงได้ย้ายมาสร้างวัดอยู่ข้างล่าง อยู่ห่างจากวัดเดิม ๓oo เมตร วัดพระธาตุจอมจันทร์จึงได้กลายเป็นวัดร้าสงตั้งแต่นั้นมา จนถึงปี ๒๕๔๒ จึงได้มีการบุรณะขึ้นมาใหม่ โดยพระมหายงยุทธ เทวธัมโม พร้อมคณะศรัทธา
การเดินทาง ออกจากอำเภอเชียงแสนใช้ถนนสายเชียงราย-เชียงแสน (ทางหลวงหมายเลข ๑o๑๖) มุ่งสู่อำเภอแม่จัน ผ่านอำเภอจันจว้า ตำบลจอมสวรรค์ และตำบลสันทราย ถึงปากทางเข้าอำเภอจอมจันทร์ รวมระยะทางประมาณ ๓o กิโลเมตร
ความเชื่อ ในการไหว้ พระธาตุจอมจันทร์ เชื่อกันว่าถ้าได้กราบไหว้และตั้งจิตอธิฐานผิวพรรณสวยงามเปล่งปลั่งรัศมีดุจแสงจันทร์งดงามอย่างหาที่เปรียบไม่ได้
คำบูชาพระธาตุจอมจันทร์
อิทัง วันทามิ เจติยัง สักกัจจัง วะระสัญญิตัง
อะหัง วันทามิ ธาตุโย อิธะปัพะเต
ปะติฏฐิตา เอตนะ มะมะปุญญานุพาเวนะ
สะทาโสตถี ภะวันตุเต