วัดถ้ำตับเต่า

วัดถ้ำตับเตาปรากฏพระพุทธรูปไสยาสน์องค์ใหญ่ ขนาดความยาวกว่า 9 เมตร  สร้างด้วยการก่ออิฐถือปูนพอกด้วยยางไม้รักปิดทองแบบศิลปะอยุธยา  ทั้งนี้สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างขึ้นโดยสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถเมื่อคราวท่านยกกองทัพมาเพื่อจะเข้าตีเมืองพม่าและตีเมืองตองอูในปี พ.ศ. 2135 และสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงยกกองทัพหลวงไปทางเชียงดาวเข้าพักพลที่เมืองหาง  ซึ่งขณะนั้นเป็นเมืองในราชอาณาจักรไทย ถ้ำตับเตาแห่งนี้เคยเป็นที่ประทับพักกองทัพของสมเด็จพระเอกาทศรถ

วัดถ้ำตับเตาเป็นวัดที่ร้างมานานก่อนที่เจ้าหลวงมหาวงค์  จะสั่งให้บูรณปฏิสังขรณ์  สร้างวัดถ้ำตับเตาขึ้น  ได้มีฝรั่งชาวนอร์เวย์  ชื่อ มร.คาร์ลบ็อก  มาสำรวจธรรมชาติในล้านนาเข้ามาพักที่เมืองฝาง  เขาได้บันทึกถึงความสำคัญของสถานที่นี้ไว้ว่า  ถ้ำแห่งนี้เป็นสถานที่สำคัญทางศาสนามากกว่าร้อยปี  มีองค์พระนอนที่ชำรุดทรุดโทรมมาก ยางไม้และทองหลุดร่อนลงเป็นแห่งๆ รอบๆ พระนอนองค์ใหญ่นี้มีพระสาวกนั้งประนมมือประหนึ่งฟังคำสวดจากพระพุทธเจ้า

ถ้ำตับเตา ถือเป็นศาสนสถานศักดิ์สิทธิ์ของชุมชนในแอ่งที่ราบโหล่งเมืองไชยปราการ – ฝาง มีอายุเก่าแก่ โดยมีตำนานที่ผูกเรื่องราวพื้นบ้านเข้ากับความศรัทธาในพระพุทธศาสนาว่า ในสมัยพุทธกาล ขณะที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงใกล้จะปรินิพพาน หลังจากทรงตรากตรำพระวรกายในการประกาศพระศาสนาในถิ่นฐานต่างๆ เมื่อจวนได้เวลาเสด็จดับขันธ์ปรินิพานตามคำทูลอาราธนาของพญามาร พระพุทธองค์ได้รับบิณฑบาตอาหารที่ประกอบด้วยสุกรมัทวะจากนายจุนนะ เป็นเนื้อหมู (เนื้อหมูเป็นโรค บางตำนานก็ว่าเป็นอาหารประกอบจากเห็ดที่งอกจากหลุมฝังศพซากหมูตายด้วยโรค) หลังจากรับบิณฑบาต พระพุทธองค์ก็ทรงประชวรและอาเจียน เนื่องจากอาหารเป็นพิษ ขณะที่ทรงประชวรอยู่ก็ทรงประทับที่ถ้ำแห่งหนึ่ง ถ้ำนั้นคือถ้ำตับเตา

วัดถ้ำตับเตา เป็นชื่อที่เรียกเพี้ยนมาจากคำว่า “ดับเต้า” ซึ่งหมายถึงการดับขี้เถ้า ที่เกิดจากการเผาไหม้ของป่า ทั้งนี้เมื่อเรียกกันนานๆ เข้าก็เลยเพี้ยนมาเป็นตับเตา ซึ่งคนในภูมิภาคอื่นไม่ทราบความหมายก็เลยเรียกว่า”ถ้ำตับเตา”  ซึ่งมีความหมายไปอีกอย่างหนึ่ง คือตับของสัตว์ชนิดหนึ่ง

เจ้าอาวาสจึงสันนิษฐานว่าด้วยเหตุผลที่พระพุทธรูปไสยาสน์องค์นี้เก่าแก่โบราณ ซึ่งคนโบราณแต่ละถิ่นแคว้นจะมีลักษณะศิลปะการก่อสร้างเป็นของตนเอง ถ้าสร้างโดยช่างฝีมือล้านนาไทยคงจะต้องมีลักษณะศิลปะแบบล้านนา สร้างแล้วก็คงมอบให้เจ้าเมืองฝางเป็นผู้ดูแล

วัดถ้ำตับเตาเป็นวัดที่ร้างมานานก่อนที่เจ้าหลวงมหาวงศ์จะสั่งให้บูรณะปฎิสังขรณ์สร้างวัดถ้ำตับเตาขึ้น ได้มีฝรั่งชาวนอรเวย์ ชื่อ มร.คาร์ลบ็อก มาสำรวจธรรมชาติในล้านนาไทยเข้ามาพักที่เมืองฝาง เขาได้บันทึกถึงความสำคัญของสถานที่นี้ไว้ว่า ถ้ำแห่งนี้เป็นสถานที่สำคัญทางศาสนามามากกว่าร้อยปี มีพระพุทธรูปองค์ใหญ่เป็นพระนอน ก่อด้วยอิฐโบกปูนทาด้วยยางไม้และปิดทอง ชำรุดทรุดโทรมมาก ยางไม้และทองหลุดร่อนลงเป็นแห่ง ๆ รอบ ๆ พระนอนองค์ใหญ่นี้มีพระสาวกนั่งประนมมือประหนึ่งฟังคำสวดจากพระพุทธเจ้า

ภายในบริเวณวัดร่มรื่น มีหอพระไตรปิฎกสร้างอยู่กลางน้ำ สิ่งสำคัญในวัดคือถ้ำตับเตา มีขนาดเล็กกว่าถ้ำเชียงดาว แต่มีความสวยงามไม่แพ้กัน ภายในถ้ำมีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ ถ้ำตับเตานี้แยกออกเป็น 2 ถ้ำ คือถ้ำแจ้ง และถ้ำมืด (ถ้ำผาขาว และถ้ำปัญเจค) บริเวณหน้าถ้ำมีกุฏิและศาลาสำหรับพักผ่อน
ถ้ำผ้าขาวมีบันไดขึ้นไปบริเวณถ้ำกว้างประมาณ 10 วา มีแสงสว่างจากช่องโหว่บนเขาส่องลงมา มีพระพุทธรูปก่อปูนขนาดใหญ่ อยู่บนแท่นกับพระพุทธรูปนอน พระอรหันต์ล้อมรอบแสดงถึงตอนพระพุทธเจ้าประชวร อีกถ้ำหนึ่งอยู่ห่างจากถ้ำผ้าขาวราว 45 เมตร เรียกถ้ำปัจเจค ปากถ้ำลึกประมาณ 5 วา มีบันไดพาดเป็นบางแห่ง ในถ้ำทางคดเคี้ยวบางตอนเป็นช่องแคบ ถ้ำลึกมากต้องหาเทียนไขหรือตะเกียงเจ้าพายุเข้าไป

สุดปลายถ้ำมีพระพุทธรูปและเจดีย์นอกจากนี้มีรูปปูนปั้นเป็นเด็กหญิงแถวหนึ่ง เด็กชายแถวหนึ่งปราศจากเครื่องแต่งกาย ผู้ใดต้องการมีบุตรหญิงหรือบุตรชายก็ให้หาธูปเทียนสักการบูชา พระพุทธรูปอธิษฐานขอเอาตามความปรารถนา มีผู้เล่าว่าผู้ไปขอแล้วมักสมปรารถนาเสมอ ตำนานของถ้ำมีจารึกอยู่บนศิลา 3 แผ่นว่า พระอรหันต์เสด็จมาบำเพ็ญสมณธรรมอยู่ ณ ที่นี้แล้วเสด็จสู่ปรินิพานตรงปากถ้ำ เทพยดาถวายพระเพลิงจนเป็นเหตุให้ไหม้ลึกลงไปในดินด้านยาว 1,000 วา ด้านกว้าง 100 วา พญานาคขึ้นมาพ่นน้ำดับ จึงปรากฏมีขี้เถ้าเต็มถ้ำ เดิมเรียกว่า “ถ้ำตับเต้า” (ถ้ำทับเถ้า) เลยเพี้ยนมาเป็นถ้ำตับเตาภายหลังถ้ำนี้พวกไทยใหญ่มักเดินทางมานมัสการเสมอเมื่อ 100 ปีมาแล้วถือเป็นถ้ำศักดิ์สิทธิ์

“ในสมัยพุทธกาลแห่งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามหากัสปะ พระพุทธองค์พระองค์นั้นได้นำพระสงฆ์สาวกมาเดินทางพักพระอริยาบถ ณ ถ้ำตับเตาแห่งนี้ และได้ท่องสวดบทพระธรรมเทศนาด้วยเสียงอันไพเราะกังวาล ทำให้ฝูงค้างคาวจำนวน 5๐๐ ตัว ที่อยู่ในถ้ำแห่งนั้นมีความเคลิบเคลิ้มจิตตกภวังค์หล่นลงมากระทบพื้นหินตาย แต่ด้วยอำนาจแห่งผลบุญที่เหล่าค้างคาวได้สดับรับฟังพระธรรมเทศนา ก็พากันบังเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เป็นเทพบุตร 5๐๐ องค์ มีชื่อเรียกว่า “อังคุลีเทพบุตร” ครั้นเมื่อพระโพธิสัตว์เจ้าเสด็จลงมาเกิดเป็นพระสิทธัตถะกุมาร และออกผนวช เทพบุตรทั้ง 5๐๐ องค์ได้มาเกิด และบวชเป็นพระภิกษุในพระศาสนาของพระสมณโคดมพุทธเจ้า และสำเร็จพระอรหันต์ครบถ้วน 5๐๐ รูป”

อีกนัยหนึ่ง มีผู้รู้ได้กล่าวไว้ว่า ชื่อเดิมของถ้ำตัับเตา คือ “ทับเถ้า”มาจากเรื่องเล่าที่ว่า พระอรหันต์ 500 รูป มานิพพานที่ถ้ำนี้ จึงได้นำเอาอัฐิหรือเถ้ามากอบกันขึ้นเป็นพระเจดีย์ และตั้งชื่อว่า “พระเจดีย์นิ่ม” ซึ่งอยู่ในถ้ำมืด และจารึก ปี พ.ศ. 1463 ไว้ที่ฐานพระเจดีย์ ถ้ำนี้ต้องใช้เวลาเดินประมาณ 1 ชั่วโมง จะเที่ยวชมอย่างทั่วถึง

ที่ตั้งถ้ำตับเตา
บ้านตับเตา ตำบลศรีดงเย็น อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งอยู่ ณ ภูเขาทางทิศตะวันตก หมู่ที่ 13  บนเส้นทางสายเชียงใหม่-ฝาง ระหว่างหลักกิโลเมตร ที่ 120 และ 121 แยกซ้ายมือเข้าไปประมาณ 3 กิโลเมตร

เปิดทุกวัน เวลา 09.00 – 17.00 น.

Write a Review

Click to rate

การสมัครสมาชิกหมายถึงคุณยอมรับต่อ ข้อกำหนดและเงื่อนไขการใช้งาน and our นโยบายความเป็นส่วนตัว ของเว็บไซด์ของเราแล้ว